minichiangmai.com

minichiangmai.com

  • หน้าแรก
  • เกี่ยวกับเรา
  • Gallery
  • ติดต่อเรา
Book Now
  • 726 ปี เมืองเชียงใหม่ “นพบุรีศรีนครพิงค์เชียงใหม่”

    726 ปี เมืองเชียงใหม่ “นพบุรีศรีนครพิงค์เชียงใหม่”

    (12.04.2565) ผ่านมากว่า 726 ปี สำหรับการสถาปนาเมืองเชียงใหม่ 12 เมษายน 1839 ถ้าเป็นภาษาพูดอวยพรทั่วไป เราก็จะบอกว่าสุขสันต์วันคล้ายวันเกิดนะเชียงใหม่

    สำหรับประวัติศาสตร์เมือง “นพบุรีศรีนครพิงค์เชียงใหม่” มาจากไหน? เรื่องเล่ามีอยู่ว่า “เจ้าพญามังราย” ทรงเลือกชัยภูมิเมืองปิง พร้อมด้วยเจ้าพญาร่วง เจ้าเมืองสุโขทัย เจ้าพญาง่ำเมือง (งำเมือง) เจ้าเมืองภูกามยาว (พะเยา) ดูชัยภูมิแห่งนี้ สาบานเป็นเพื่อนกัน แต่ทว่า ที่จริงแล้วเป็นกุศโลบาย เพื่อที่จะไม่ให้มีศึกสงครามกันมากกว่า เมื่อสามสหายตกลงเลือกเมืองปิง ในวันพฤหัสบดี ขึ้น 8 ค่ำ เดือน 6 พ.ศ.1839 ตามจันทรคติ (ซึ่งตอนที่เมืองเชียงใหม่ครบ 700 ปี ทำให้ทราบว่าตรงกับวันที่ 12 เมษายน).เจ้าพญามังราย โปรดเกล้าให้สร้างจุดศูนย์กลางตามความเชื่อจักรวาล นามว่า เจดีย์หลวง เจดีย์องค์ใหญ่ที่สุดในล้านนา เป็นศูนย์กลางจักรวาลหรือจุดกึ่งกลางเมือง สร้างวัด 8 วัดรอบเมืองเชียงใหม่ แทนทิศทั้ง 8 ทิศ ตามความเชื่อโบราณ ให้เป็นศูนย์กลางเมืองปกครอง กำหนดพระธาตุเมืองหริภุญชัยที่มีมาก่อนแล้ว เป็นศูนย์กลางศาสนา แล้วสถาปนาเมืองปิงใหม่ นามว่า “นพบุรี ศรีนครพิงค์เชียงใหม่”

    งานสมโภชน์และบวงสรวง ครบรอบวันสถาปนาเมืองเชียงใหม่ เริ่มสืบทอดและอนุรักษ์ประเพณีมาเป็นประจำทุกปี โดยเมื่อครบรอบ 720 ปี เมื่อ พ.ศ.2559 จังหวัดเชียงใหม่ได้กลับมารื้อฟื้นจัดงานอย่างยิ่งใหญ่อีกครั้ง โดยมีเครือข่ายชุมชนเมืองรักษ์เชียงใหม่ เป็นผู้สืบทอดพิธีกรรม โดยใช้ชื่องานว่า “ยอสวยไหว้สาพญามังราย” คือการนำกรวยดอกไม้มาสักการะบูชา โดยกิจกรรมมีการทำพิธีเครื่องไหว้บวงสรวงพิธีแบบล้านนาในช่วงเช้า และมีการแสดงศิลปวัฒนธรรมบูชาเมือง ณ บริเวณลานอนุสาวรีย์สามกษัตริย์

    ศุภกิตติ์ คุณา

    12 เมษายน 2022
    culture
    นพบุรีศรีนครพิงค์เชียงใหม่, วันสถาปนาเมืองเชียงใหม่, อนุสาวรีย์สามกษัตริย์
  • นิรมิตภูษา มนตราเมืองเงิน-ธรรมนิติ์ ภูวเสถียร

    นิรมิตภูษา มนตราเมืองเงิน-ธรรมนิติ์ ภูวเสถียร

    “นิรมิตภูษา มนตราเมืองเงิน”
    ธรรมนิติ์ ภูวเสถียร

     

    นิทรรศการ จัดแสดง ระหว่างวันที่ 22-26 ธันวาคม 2561
    ณ หอศิลปวัฒนนธรรมเมืองเชียงใหม่ จ.เชียงใหม่

    ศุภกิตติ์ คุณา

    25 ธันวาคม 2018
    culture, event, lifestyle
    ธรรมนิติ์ ภูวเสถียร, นิรมิตภูษา มนตราเมืองเงิน
  • มนต์เสน่ห์เมืองแจ๋ม หนึ่งเดียวในประเทศไทย

    มนต์เสน่ห์เมืองแจ๋ม หนึ่งเดียวในประเทศไทย

    อำเภอแม่แจ่ม หรือ “เมืองแจ๋ม” นั้นแต่เดิมเรียกกันว่า “เมืองแจม” มีเรื่องเล่าครั้งโบราณกาลว่า สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าและพระมหากัจจายนะได้จาริกผ่านมาทางยอดดอยอ่างกา (ดอยอินทนนท์) เช้าวันหนึ่งเมื่อพระองค์เสด็จออกบิณฑบาตโปรดสัตว์ มีย่าลัวะเฒ่า (หญิงชราชาวลัวะ) คนหนึ่งนำปลาปิ้งเพียงครึ่งตัวมาใส่บาตรถวาย พระบรมศาสดาทอดพระเนตรด้วยความเมตตาและความสงสัย จึงตรัสถามย่าลัวะว่า “แล้วปลาอีกครึ่งตัวล่ะอยู่ไหน” ย่าลัวะทูลตอบว่า “เก็บไว้ให้หลาน” พระองค์จึงทรงรำพึงว่า “บ้านนี้เมืองนี้มันแจมแต๊นอ” (= เมืองนี้ช่างอดอยากจริงหนอ) ซึ่งต่อมาดินแดนนี้จึงได้ชื่อว่า “เมืองแจม”

    คำว่า “แจม” เป็นภาษาลัวะแปลว่า มีน้อย ไม่พอเพียง หรือขาดแคลน ต่อมาเมื่อกลุ่มคนไท-ยวน (ไต) มาอยู่ จึงเรียกชื่อตามสำเนียงไท-ยวนว่า “เมืองแจ๋ม” และเพี้ยนเป็นเมืองแจ่มหรือ “แม่แจ่ม” อันเป็นนามมงคล หมายถึงให้เมืองนี้เป็นเมืองแห่งความแจ่มใส ลบความหมายของคำว่า “แจม”

    %e0%b9%80%e0%b8%a1%e0%b8%b7%e0%b8%ad%e0%b8%87%e0%b9%81%e0%b8%88%e0%b9%8b%e0%b8%a1_%e0%b9%81%e0%b8%a1%e0%b9%88%e0%b9%81%e0%b8%88%e0%b9%88%e0%b8%a1_2

    อำเภอแม่แจ่ม เป็นดินแดนแห่งหนึ่งที่ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของจังหวัดเชียงใหม่ มีหมู่บ้านอยู่ตามที่ราบและกระจัดกระจายอยู่ตามหุบเขาใหญ่น้อยที่ล้อมรอบเรียงรายอยู่ มองจากที่สูงลงมาจะเหมือนแอ่งกระทะ มีลำน้ำไหลผ่าน ท่ามกลางมวลพฤกษชาตินานาพันธุ์ที่ปรากฏอยู่ในดินแดนสุวรรณภูมิ ดินแดนแห่งนี้เดิมเป็นที่อาศัยของชนชาติลัวะ (ละว้า) ซึ่งครอบครองดินแดนแถบนี้ตลอดจนถึงบางส่วนของอาณาจักรล้านนาในอดีต ชนเผ่าลัวะมีความเจริญไม่แพ้พวกขอม-มอญ ซึ่งเป็นเจ้าของดินแดนแห่งนี้ร่วมกัน เพียงแต่แยกการปกครองออกเป็นหมู่เหล่า เป็นอิสระไม่ขึ้นตรงต่อพวกใด ชนใดมีความเข้มแข็งก็ตั้งตัวเป็นเจ้าเมืองขึ้นปกครองกันเอง มีวิถีชีวิตที่เรียบง่าย และได้สร้างวัฒนธรรมของตนจนรุ่งเรือง ตามหลักฐานทางประวัติศาสตร์ ไม่ว่าจะเป็นวัดวาอาราม จิตรกรรมฝาผนัง เครื่องปั้นดินเผา อาจจะเป็นเพราะในอดีตเมืองแจ๋มเป็นเส้นทางการค้าขายระหว่าง พม่า ไทย จีน และอินเดียก็เป็นได้ เพราะสินค้าของทุกประเทศตกทอดมาสู่รุ่นลูกหลานซึ่งได้รับจากบรรพบุรุษที่อยู่ในสมัยนั้นด้วย ต่อมาเมื่อมีกลุ่มคนไท-ยวน (ไต) เข้ามามากเข้า อำนาจของลัวะจึงหมดไป แต่ลัวะเริ่มเรืองอำนาจขึ้นมาใหม่อีกครั้งในยุคสมัยของพญามังรายซึ่งถือว่าเป็นเชื้อสายลัวะเหมือนกัน

    %e0%b9%80%e0%b8%a1%e0%b8%b7%e0%b8%ad%e0%b8%87%e0%b9%81%e0%b8%88%e0%b9%8b%e0%b8%a1_%e0%b9%81%e0%b8%a1%e0%b9%88%e0%b9%81%e0%b8%88%e0%b9%88%e0%b8%a1_6

    ตามหลักฐานทางประวัติศาสตร์ เช่น คิชฌกูฏ ในวิหารของวัดยางหลวง พระเจ้าตนหลวง วัดกองกาน พระพุทธรูปหล่อด้วยสัมฤทธิ์ ศิลปะตระกูลช่างเชียงแสนและตระกูลช่างสุโขทัยซึ่งมีอายุเกิน 500 ปีขึ้นไป ดังนั้น เมืองแจ๋มก็น่าจะตั้งมาไม่ต่ำว่า 500 ปี ราว ๆ ปลายพุทธศตวรรษที่ 18 (พ.ศ.1800) สิงหนวัติกุมารได้พากลุ่มคนไท-ยวนอพยพมาจากยูนนานทางตอนใต้ของจีน ยึดอำนาจจากลัวะในสมัยปู่จ้าวลาวจก (ลวจักราช) บรรพบุรุษของพญามังราย แล้วสร้างเมืองใหม่ในพื้นที่ที่มีชนพื้นเมืองลัวะอาศัยอยู่ก่อน แต่อาศัยการวางตนเป็นผู้ที่มีวัฒนธรรมสูงกว่าลัวะ ต่อมาเมื่อกลุ่มคนไทเสื่อมอำนาจลง ปู่จ้าวลาวจกจึงสถาปนาตนเองเป็นปฐมกษัตริย์ กลุ่มคนไทจึงกระจัดกระจายกันไปคนละทิศคนละทาง ซึ่งตามประวัติของเมืองแจ๋มที่กล่าวไว้ว่าเริ่มมีคนไทเข้ามา ก็คงจะในสมัยของสิงหนวัติกุมารนั่นเอง เพราะประวัติของเมืองแจ๋มก็มีเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับสิงห์อยู่เหมือนกัน แล้วถ้าเราลองมานับปีกันแล้ว ปีนี้ พ.ศ. 2545-1800 จะได้ประมาณ 745 ปี ซึ่งก็ใกล้เคียงกับอายุของหลักฐานที่อยู่ตามวัดต่าง ๆ เช่น คิชฌกูฏ

    %e0%b9%80%e0%b8%a1%e0%b8%b7%e0%b8%ad%e0%b8%87%e0%b9%81%e0%b8%88%e0%b9%8b%e0%b8%a1_%e0%b9%81%e0%b8%a1%e0%b9%88%e0%b9%81%e0%b8%88%e0%b9%88%e0%b8%a1_3

    ต่อมามีคนไทยพื้นที่ราบทั้งจากอำเภอจอมทองและอำเภอสันป่าตองเข้ามาหากินและตั้งถิ่นฐานอยู่ตามที่ราบลุ่มน้ำแม่แจ่ม และได้รับการยกฐานะเป็นอำเภอเมื่อปี พ.ศ. 2447 ตั้งชื่อว่า อำเภอช่างเคิ่ง(ปัจจุบันช่างเคิ่งเป็นชื่อตำบลหนึ่งในอำเภอแม่แจ่ม) ตั้งที่ว่าการอำเภอที่บ้านหมู่ที่ 4 ตำบลท่าผา มีนายชื่นดำรงตำแหน่งนายอำเภอ แต่ขณะนั้นราษฎรอดอยากขาดแคลนและไม่นิยมการปกครองที่มีการเก็บภาษีอากร ในที่สุดจึงมีราษฎรกลุ่มหนึ่งเข้าปล้นที่ว่าการอำเภอและทำร้ายนายอำเภอจนเสียชีวิต ทางราชการจึงได้ย้ายที่ว่าการอำเภอไปอาศัยที่วัดช่างเคิ่งเพื่อความปลอดภัย มีนายสนิทเป็นนายอำเภอจนกระทั่งปี พ.ศ. 2481 ทางราชการได้ลดฐานะลงเป็นกิ่งอำเภอ และตั้งชื่อว่า กิ่งอำเภอแม่แจ่ม ขึ้นกับอำเภอจอมทอง และเมื่อปี พ.ศ. 2499 ได้รับการยกฐานะเป็น อำเภอแม่แจ่ม และ เมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2552 ได้มีการแบ่งพื้นที่ของตำบลแจ่มหลวง ตำบลบ้านจันทร์ และ ตำบลแม่แดด ออกไปจัดตั้ง อำเภอกัลยาณิวัฒนา จึงทำให้อำเภอแม่แจ่ม มี 7 ตำบล จนถึงปัจจุบัน

    %e0%b9%80%e0%b8%a1%e0%b8%b7%e0%b8%ad%e0%b8%87%e0%b9%81%e0%b8%88%e0%b9%8b%e0%b8%a1_%e0%b9%81%e0%b8%a1%e0%b9%88%e0%b9%81%e0%b8%88%e0%b9%88%e0%b8%a1_5

    %e0%b9%80%e0%b8%a1%e0%b8%b7%e0%b8%ad%e0%b8%87%e0%b9%81%e0%b8%88%e0%b9%8b%e0%b8%a1_%e0%b9%81%e0%b8%a1%e0%b9%88%e0%b9%81%e0%b8%88%e0%b9%88%e0%b8%a1_7

    %e0%b9%80%e0%b8%a1%e0%b8%b7%e0%b8%ad%e0%b8%87%e0%b9%81%e0%b8%88%e0%b9%8b%e0%b8%a1_%e0%b9%81%e0%b8%a1%e0%b9%88%e0%b9%81%e0%b8%88%e0%b9%88%e0%b8%a1_8

    ส่วนผ้าซิ่นตีนจก สันนิษฐานว่าซิ่นตีนจกแม่แจ่มก็น่าจะมีขึ้นในยุคสมัยที่พุทธศาสนาของล้านนามีความเจริญรุ่งเรือง จากลวดลายของซิ่นตีนจกแม่แจ่ม ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของความคิด ความเชื่อทางพุทธศาสนา จากองค์ประกอบของซิ่นตีนจกแม่แจ่มจะปรากฏลวดลายต่างๆ เช่น โคม ขัน นาค หงส์ น้ำต้น สะเปา อันเป็นสัญลักษณ์สำคัญของความเชื่อทางพุทธศาสนา อันหมายถึง เขาพระสุเมรุ ทะเลสีทันดร และ สัตว์หิมพานต์ ดังปรากฏอยู่ในการเทศน์มหาชาติ ช่วงลอยกระทงของทุกปี ประกอบอยู่บนผืนผ้า สีแดงเป็นเชิงซิ่นอันหมายถึงสวรรค์หรือจักรวาล เป็นการแสดงออกซึ่งความเคารพสักการะและ เป็นพุทธบูชาของทั้งผู้ทอและผู้สวมใส่ให้เกิดสง่าราศี เป็นสิริมงคลแก่ตนเองและศาสนสถานอันศักดิ์สิทธิ์ เพื่อให้เกิดบุญกุศลอันยิ่งใหญ่ โดยมีสวรรค์และนิพพานเป็นจุดหมายปลายทาง นอกจากนี้สตรีแม่แจ่มยังมีการเก็บผ้าตีนจกผืนที่ดีที่สุด งามที่สุด ไว้สำหรับตัวเองใส่เมื่อยามละสังขารแล้ว เพื่อจะได้ไปไหว้พระธาตุเกศแก้วจุฬามณีบนสรวงสวรรค์เป็นครั้งสุดท้าย

    ผ้าตีนจกแม่แจ่มนับเป็นงานหัตถกรรมที่ประณีต สวยงาม และมีเอกลักษณ์ ของอำเภอแม่แจ่ม ดังมีคำขวัญของอำเภอแม่แจ่ม ว่า เที่ยวบ่อน้ำแร่ ล่องแพน้ำแจ่ม พักแรมน้ำตก ผ้าตีนจกยอดน้ำมือ

    %e0%b9%80%e0%b8%a1%e0%b8%b7%e0%b8%ad%e0%b8%87%e0%b9%81%e0%b8%88%e0%b9%8b%e0%b8%a1_%e0%b9%81%e0%b8%a1%e0%b9%88%e0%b9%81%e0%b8%88%e0%b9%88%e0%b8%a1_9

    %e0%b9%80%e0%b8%a1%e0%b8%b7%e0%b8%ad%e0%b8%87%e0%b9%81%e0%b8%88%e0%b9%8b%e0%b8%a1_%e0%b9%81%e0%b8%a1%e0%b9%88%e0%b9%81%e0%b8%88%e0%b9%88%e0%b8%a1_10

    %e0%b9%80%e0%b8%a1%e0%b8%b7%e0%b8%ad%e0%b8%87%e0%b9%81%e0%b8%88%e0%b9%8b%e0%b8%a1_%e0%b9%81%e0%b8%a1%e0%b9%88%e0%b9%81%e0%b8%88%e0%b9%88%e0%b8%a1_11

    %e0%b9%80%e0%b8%a1%e0%b8%b7%e0%b8%ad%e0%b8%87%e0%b9%81%e0%b8%88%e0%b9%8b%e0%b8%a1_%e0%b9%81%e0%b8%a1%e0%b9%88%e0%b9%81%e0%b8%88%e0%b9%88%e0%b8%a1_12

    %e0%b9%80%e0%b8%a1%e0%b8%b7%e0%b8%ad%e0%b8%87%e0%b9%81%e0%b8%88%e0%b9%8b%e0%b8%a1_%e0%b9%81%e0%b8%a1%e0%b9%88%e0%b9%81%e0%b8%88%e0%b9%88%e0%b8%a1_13

    ศุภกิตติ์ คุณา

    7 พฤศจิกายน 2016
    culture
    จุลกฐิน, ช่างเคิ่ง, ป่าบงเปียง, วัดยางหลวง, เมืองแจ๋ม, แม่แจ่ม

©2023 All rights reserved.

  • WordPress
  • Twitter
  • Facebook