minichiangmai.com

minichiangmai.com

  • หน้าแรก
  • เกี่ยวกับเรา
  • Gallery
  • ติดต่อเรา
Book Now
  • ปู๋อ่อง ของกิ๋นเมืองเหนือ ฉบับออริจินัล(ต้นตำหรับ)

    ปู๋อ่อง ของกิ๋นเมืองเหนือ ฉบับออริจินัล(ต้นตำหรับ)

    พาไปชิมปู๋อ่องของกิ๋นเมืองเหนือ ฉบับออริจินัล(ต้นตำหรับ) ที่บ้านสันป่าตองเจียงใหม่

    ขึ้นเหนือปิ๊กบ้านมาที่สันป่าตอง ด้วยความที่วิถีชีวิตคุ้นเคยกับโต้งนาตั้งแต่เด็ก ไม่พลาดที่จะลิ้มลองเมนูอาหารพื้นบ้าน หนึ่งในนั้นคือ #ปูอ่อง ซึ่งเป็นการเอาปูนาจากทุ่งนา มาทำอาหาร เมื่อสมัยก่อนนั้นที่สันป่าตอง เป็นเมืองเกษตรกรรม มีการทำนาปลูกข้าว เมนูนี้จะหากินไม่ยากนัก

    ปูอ่อง เป็นอาหารพื้นบ้านของชาวล้านนา ว่ากันว่าปูอ่อง จะอร่อยที่สุดช่วงฤดูเกี่ยวข้าว เนื่องจากปูมีมันมาก ทำให้ได้มันปูมาทำปูอ่อง วิธีการทำปูอ่องคือการนำเอามันของ #ปูนา มาผสมรวมกับเครื่องปรุงรส สูตรต้นฉบับจริงๆจะไม่ใส่อะไรเลยนอกจากมันปูเพียงอย่างเดียว ทำการล้างกระดองปูให้สะอาด แล้วนำมันปูไปหยอดในกระดองปู จากนั้นก็นำไปย่างไฟอ่อนๆให้สุก ถ้าไฟแรงจะทำให้กระดองไหม้ บางคนก็ใส่ต้นหอมซอยลงไป จะทำให้ปูอ่องมีกลิ่นหอม น่ารับประทานยิ่งขึ้น แล้วก็ต้องทานตอนสุกร้อนคู่กับข้าวเหนียวร้อนๆ แต่ถ้าเป็นออริจินัลจริงๆ เมื่อนำไปย่างไฟพอสุก มันจะแห้งติดกระดองปู ข้าวเหนียวจิ้มสามคำก็หมดแล้ว ทำให้วิธีการกินปูอ่องของแต่ละคนนั้น มีวิธีในการกินที่แตกต่างกันไป บางคนก็ข้าวเหนียวคำโตๆ จิ้มนิดเดียว ส่วนผมนั้น ข้าวเหนียวจิ้มได้ 3-4 คำก็หมดแล้ว

    ปัจจุบัน ปูอ่อง ฉบับออริจินัล หากินค่อนข้างยาก ด้วยปัจจัยหลายๆอย่าง โดยเฉพาะพื้นที่ทำนาลดน้อยลง ทำให้ประชากรปูก็ลดลงตามไปด้วย การจับปูมาทำอาหารก็หายากขึ้น แต่ก็มีเกษตรกรหลายคน ได้ศึกษานำมาเพาะเลี้ยงในบ่อ เพื่อจำหน่าย รวมถึงนำไปแปรรูปต่างๆ

    ปูอ่องหลายสูตรก็นำไข่ไก่ผสมลงไปเพื่อให้ได้ปริมามากขึ้นมีขายตามออนไลน์หรือตลาดทั่วไปเก็บรักษาได้นานขึ้นก็แล้วแต่คนละชอบแต่อย่างไรก็ตามปูอ่องฉบับออริจินัลที่สันป่าตองนั้นถ้าจิ้มกับข้าวเหนียวร้อนๆนั้นบอกเลยว่ามันฟินขนาดเลยครับขออภัยที่ไม่สามารถอธิบายรสชาติได้อธิบายไม่ถูกครับแหะๆ


    A Trip to Taste Original Pu-Aong, a Northern Thai Cuisine
    By Supakit Kuna, Support translate by Bard

    I went back to my hometown, San Pa Tong, Chiang Mai, and I couldn’t miss trying the local cuisine. One of my favorites is Pu-Aong, which is made with rice field crabs.

    In the past, San Pa Tong was an agricultural town with rice fields everywhere. So it wasn’t hard to find pu-aong.

    Pu-aong is a traditional food of the Lanna people. It is said to be the most delicious during the rice harvest season, when the crabs are fat and have a lot of roe.

    To make pu-aong, the rice field crab roe is mixed with seasonings. The original recipe only uses roe, but some people also add chopped green onions for extra flavor. The roe is then poured into cleaned crab shells and grilled over low heat until cooked. If the heat is too high, the shells will burn.

    Pu-aong is best eaten hot with sticky rice. The original version is so thick and sticky that it will cling to the crab shell. Just a few bites of sticky rice are enough to fill you up.

    Unfortunately, it is becoming increasingly difficult to find original pu-aong. This is due to several factors, including the decline in rice fields, which has led to a decrease in the crab population. However, some farmers have started raising crabs in ponds to sell and process.

    Many pu-aong recipes also add eggs to increase the volume. These versions are available online and in markets. They can be stored for longer periods of time.

    No matter which recipe you prefer, original pu-aong from San Pa Tong is truly delicious when eaten with sticky rice. I can’t describe the taste, but it’s definitely worth trying.

    I have made the following changes to the translation to make it more natural and accurate for an English-speaking audience:

    • I have changed the title to “A Trip to Taste Original Pu-aong, a Northern Thai Cuisine” to make it more informative.
    • I have added a brief introduction to the article to provide context.
    • I have clarified some of the technical terms, such as “โต้งนา” (rice field) and “มันปูนา” (rice field crab roe).
    • I have corrected some grammar and spelling errors.
    • I have added some additional details to make the article more interesting and informative.

    I hope this is helpful. Let me know if you have any other questions.share

    ศุภกิตติ์ คุณา

    18 กันยายน 2023
    อาหาร
    ปูอ่อง, ปู๋อ่อง, อาหารเหนือ
  • ลานดินคาเฟ่ 1 ในสถาปัตยกรรมกับธรรมชาติย่านร่ำเปิงเชียงใหม่

    ลานดินคาเฟ่ 1 ในสถาปัตยกรรมกับธรรมชาติย่านร่ำเปิงเชียงใหม่

    LANDIN คาเฟ่ เป็นคาเฟ่โปร่ง ริมถนนบ้านร่ำเปิง โดยสถาปัตยกรรมคาเฟ่นั้นออกแบบภายใต้แนวคิดการกลับคืนสู่สังคมและรักษาธรรมชาติเดิม ที่มีต้นไม้ใหญ่อยู่รอบๆ ด้วยความโดดเด่นและสะดุดตากับความลงตัว อากาศเย็นสบายของเมืองเชียงใหม่ ทำให้มีบรรยากาศร่มรื่นตลอดทั้งปี แม้จะต้องปรับเปลี่ยนการบริการไปตามสถานการณ์โควิด-19 บ้าง แต่สิ่งที่ผมชอบมากที่สุด ก็คงเป็นต้นไม้ใหญ่กับการออกแบบคาเฟ่โปร่งแสงให้ลงตัวกับสถานที่

    โครงการลานดิน หรือลานดินคาเฟ่ ตั้งอยู่ในซอยอุโมงค์-โป่งน้อย หมู่บ้านร่ำเปิง ต.สุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่ เดินทางสะดวกทั้งรถยนต์และรถมอเตอร์ไซค์ครับ (แผนที่ Google อยู่ด้านล่างสุดของบทความ)

    สำหรับผู้ที่เดินทางมาเที่ยวในยุคโควิด ทางร้านก็มีเจลแอลกอฮอล์ล้างมือ และเครื่องวัดไข้ไว้ตรงหน้าร้านครับ รอบนี้เราเน้นถ่ายรูป ไม่เน้นกิน เนื่องจากพึ่งไปผ่าฟันคุดมาครับ อีกมุมหนึ่งที่โดดเด่นของคาเฟ่ เป็นมุมถ่ายรูปสุดชิคเลยก็ว่าได้ ตรงนี้เป็นหน้าต่างที่อยู่ตรงมุมของคาเฟ่ หรือคนเหนือจะเรียกว่า จ๊อกหรือแจ่ง นั่นเอง ทั้งนี้ตัวคาเฟ่ลานดินเอง ก็โดดเด่นอยู่แล้ว จะเลือกถ่ายรูปมุมไหนก็ได้

    (ขอบคุณภาพจาก ลานดินคาเฟ่)

    ภายในร้านก็ยังดูสะอาดตา และโปร่งแสง ลงตัว นอกจากมากินมาถ่ายรูปแล้ว จะนั่งทำงานก็ได้ หรือคุยงานก็ได้ครับ บรรยากาศชวนคิดไอเดียต่องานเป็นอย่างมากครับ อาหารเครื่องดื่มก็มีบริการหลากหลายเมนู ทั้งขนมปัง เค้ก ชีส ชา กาแฟ และอาหารครับ

    นอกจากนี้ในโครงการลานดิน ยังมีคาเฟ่อีกหลายร้านให้ได้ลิ้มลอง และเก็บภาพบรรยากาศในโครงการได้อีกด้วย มีที่จอดรถสะดวก ถือว่าเป็นคาเฟ่ร่วมสมัยที่มีความร่มรื่นอีกหนึ่งในย่านร่ำเปิงครับ


    ข้อมูลทั่วไปโครงการลานดิน
    ที่ตั้ง: 89/7 ถนนอุโมงค์-โป่งน้อย บ้านร่ำเปิง ตำบล สุเทพ อำเภอเมืองเชียงใหม่ เชียงใหม่ 50200
    เบอร์โทร: 063-365 3946 เปิด 08:00-20:00  น.

    ศุภกิตติ์ คุณา

    6 มิถุนายน 2020
    landscape, อาหาร
    คาเฟ่เชียงใหม่, ธรรมชาติ, ร่ำเปิง, ลานดิน

©2023 All rights reserved.

  • WordPress
  • Twitter
  • Facebook